วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไอซีออปแอมป์ (Op-Amp I.C)


1. คุณสมบัติของออปแอมป์
                ออปแอมป์ (Op-Amp)  เป็นชื่อย่อสำหรับเรียกวงจรขยายที่มาจาก Operating Amplifier เป็นวงจรขยายแบบต่อตรง (Direct couled amplifier) ที่มีอัตราการขยายสูงมากใช้การป้อนกลับแบบลบไปควบคุมลักษณะการทำงาน ทำให้ผลการทำงานของวงจรไม่ขึ้นกับพารามิเตอร์ภายในของออปแอมป์ วงจรภายในประกอบด้วยวงจรขยายที่ต่ออนุกรมกัน ภาคคือ วงจรขยายดิฟเฟอเรนเชียลด้านทางเข้า  วงจรขยายดิฟเฟอเรนเชียลภาคที่สอง วงจรเลื่อนระดับและวงจรขยายกำลังด้านทางออก สัญลักษณ์ที่ใช้แทนออปแอมป์จะเป็นรูปสามเหลี่ยม ไอซีออปแอมป์เป็นไอซีที่แตกต่างไปจากลิเนียร์ไอซีทั่วๆ ไปคือไอซีออปแอมป์มีขาอินพุท 2 ขา เรียกว่าขาเข้าไม่กลับเฟส (Non-Inverting Input) หรือ ขา + และขาเข้ากลับเฟส (Inverting Input) หรือขา  ส่วนทางด้านออกมีเพียงขาเดียว เมื่อสัญญาณป้อนเข้าขาไม่กลับเฟสสัญญาณทางด้านออกจะมีเฟสตรงกับทางด้านเข้า แต่ถ้าป้อนสัญญาณเข้าที่ขาเข้ากลับเฟส สัญญาณทางออกจะมีเฟสต่างไป 180 องศา จากสัญญาณทางด้านเข้า

                

รูปที่ 1 แสดงสัญลักษณ์ออปแอมป์


คุณสมบัติของออปแอมป์ในทางอุดมคติ

               1.       อัตราขยายมีค่าสูงมากเป็นอนันต์หรือ อินฟินิตี้ (AV = )

                2.       อินพุทอิมพีแดนซ์มีค่าสูงมากเป็นอนันต์ (Zi = )

                3.       เอาท์พุทอิมพีแดนซ์มีค่าต่ำมากเท่ากับศูนย์ (Zo = 0)

                4.       ความกว้างของแบนด์วิท (Bandwidth) ในการขยายสูงมาก (BW = )

                5.       สามารถขยายสัญญาณได้ทั้งสัญญาณ AC และ DC

                 6.       การทำงานไม่ขึ้นกับอุณหภูมิ

                เมื่อศึกษาคุณสมบัติของออปแอมป์ในอุดมคติแล้วพบว่า ออปแอมป์ได้รวมข้อดีของวงจรขยายไว้ได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากมีอัตราขยายเป็นอนันต์และสามารถขยายสัญญได้ทั้งไฟกระแสสลับและไฟกระแสตรง การนำไปใช้งานในบางครั้งเมื่อต้องการลดอัตราการขยายก็สามารถกระทำได้โดยการป้อนกลับ (Feed Back) เพื่อมาลดอัตราการขยายลง และข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ อิมพีแดนซ์ทางอินพุทมีอิมพีแดนซ์สูงมาก จึงทำให้เหมือนไม่มีกระแสอินพุทไหลเลยลักษณะเช่นนี้จึงทำให้วงจรทางอินพุทไม่โหลดวงจรส่งกำลังในส่วนหน้า เช่นเดียวกันที่เอาท์พุทมีอิมพีแดนซ์เป็นศูนย์สามารถนำไปเชื่อมต่อกับวงจรอื่นได้ดี


2. วงจรขยายแบบกลับเฟส (Inverting Amplifier)

รูปที่ 2 วงจรขยายออปแอมป์แบบกลับเฟส (Inverting Amplifier)

                ในวงจรขยายออปแอมป์นั้นสามารถที่จะกำหนดอัตราการขยายของวงจรได้โดยการใช้ วงจรเนกาทีฟฟีดแบ็ค (Negative Feedback) เมื่อเราป้อนสัญญาณเข้าทางขากลับเฟส (ขา - ) แรงดันด้านทางออกจะมีมุมเฟสต่างไปจากแรงดันทางเข้า 180 องศา ซึ่งมีลักษณะตรงข้าม สัญญาณตรงกันข้ามนี้จะถูกป้อนกลับผ่าน R2 เข้ามายังขาอินเวอร์ติ้งอีกครั้งหนึ่ง ตรงจุดนี้จะทำให้สัญญาณเกิดการหักล้างกันอัตราการขยายก็จะลดลง ถ้าตัวต้านทานที่เป็นตัวป้อนกลับมีค่ามาก จะทำให้สัญญาณป้อนกลับมีขนาดเล็กอัตราการขยายออกจึงสูง ถ้าตัวต้านทานที่ป้อนกลับมีค่าน้อยสัญญาณป้อนกลับไปได้มากอัตราการขยายก็จะลดลง ฉะนั้นอัตราส่วนของความต้านทาน R1 และ R2 จะเป็นตัวกำหนดอัตราการขยายของวงจรโดยไม่ขึ้นกับอัตราการขยายของออปแอมป์ ซึ่งสามารถหาอัตราการขยายแรงดันได้จากสูตร

3. วงจรขยายแบบไม่กลับเฟส (Non-Inverting Amplifier)
                วงจรขยายนี้เป็นวงจรขยายอีกแบบหนึ่งที่ต้องการเฟสในการขยายเป็นเฟสเดียวกัน ดังนั้นการป้อนสัญญาณอินพุทจึงต้องป้อนเข้าที่ขาอินพุทไม่กลับเฟส (+) ซึ่งเมื่อขยายออกที่เอาท์พุทแล้วจะได้สัญญาณเอาท์พุทที่มีเฟสเหมือนเดิม ดังนั้นในวงจรขยายแบบไม่กลับเฟสนี้การป้อนกลับเพื่อลดอัตราการขยายจึงยังคงต้องป้อนไปยังขาอินเวอร์ติ้ง (-) เพื่อให้เกิดการหักล้างของสัญญาณกันภายในตัวไอซีออปแอมป์ โดยสามารถหาอัตราการขยายของวงจรได้จากสูตร



รูปที่ 3 วงจรขยายออปแอมป์แบบไม่กลับเฟส (Non-Inverting Amplifier)


4. วงจรบัฟเฟอร์ (Buffer)
                วงจรบัฟเฟอร์หรือวงจรกันชน เป็นวงจรที่ใช้เชื่อมวงจรสองวงจรเข้าด้วยกัน เช่นระบบไอซีที่ต่างตระกูลกันหรือทรานซิสเตอรืที่ไม่แมทชิ่งอิมพีแดนซ์กัน คือวงจรที่จำเป็นต้องใช้บัฟเฟอร์เพราะคุณสมบัติของออปแอมป์ทางเอาท์พุทอิมพีแดนซ์ต่ำ เมื่อเชื่อมต่อกับวงจรอื่นแล้วจะไม่ทำให้วงจรอื่นมีผลแตกต่างไปจากเดิม วงจรบัฟเฟอร์นั้นจะมีอัตราการขยายเท่ากับ 1


 

รูปที่ 4 วงจรบัฟเฟอร์



5. วงจรกรองสัญญาณความถี่ต่ำ (Low Pass Filter)

 

รูปที่ 5 วงจรกรองความถี่เบื้องต้น


                การใช้วงจรกรองแบบอาร์ซี (RC Filter) เข้ามาเป็นเนกาทีฟฟีดแบ็ค (Negative Feedback) การขยายสัญญาณของออปแอมป์จะกรองเอาความถี่เฉพาะบางความถี่ออกไปเท่านั้นซึ่งสามารถหาความถี่ที่ใช้งานได้จากสูตร

      

               และสามารถที่จะประยุกต์ใช้งานวงจรนี้ในวงจรกรองความถี่ต่างๆ ได้เช่น ภาคกรองความถี่ ไอเอฟ วงจรดักจับความถี่  วงจรออสซิลเลเตอร์ และในเครื่องเสียงก็ยังใช้เป็นระบบแยกความถี่ของเครื่องขยายแบบไบแอมป์และไตรแอมป์ ซึ่งวงจรแยกความถี่แบบนี้เป็นวงจรชั้นสูงขึ้นไป เราเรียกวงจรแยกความถี่ว่า แอคตีฟฟิลเตอร์”  (Active Filter) ซึ่งสามารถจัดวงจรแอคตีฟฟิลเตอร์ได้ดังรูปที่ 6


รูปที่ 6 วงจรแอคตีฟฟิลเตอร์



สรุปอาการเสียโทรทัศน์สี Panasonic

สรุปอาการเสียโทรทัศน์สี Panasonic
GP3/ GP31   โดยครูบ้านสี่ทิศ
รุ่น
อาการเสีย
ตัวเสีย
ข้อควรระวัง
TC-29PS60B
- เปิดเครื่องแล้วเกิดจอด่างทั้งจอแล้วตัด
R514,R515,D513,D515
ไม่ควรเปิดนาน
TC-21FG10B
- เปิดเครื่องไม่ทำงาน LED ติดสีเขียว
RM1104
- ตรวจเช็ค +5V ที่ตัวรับรีโมท
TC-21FJ10B
- เปิดเครื่องเห็นจอสีม่วง มีเส้นสบัดกลับ
สักพักเครื่องตัด LED ติดสีแดงกระพริบ
IC601
- เช็คไฟสกรีนพบว่าสูงมาก
TC-21FJ10B
- ไม่มีภาพ จอมืด
Q870
เช็ค IC851 +8V , +5V  ไม่จ่าย
TC-21PS50B
- ภาพเป็นแบลง์กิ้ง
R374, IC351
- เช็คไฟ+175V จากขา 1 FBT.
ถ้าพบ R374 ขาดเปลี่ยน IC351
TC-21PS50B
- ภาพมืด
R557
เช็คไฟ +140V ปกติ  มีเสียง
จอมืด แต่ไส้หลอดติด
TC-21PS50B
- ไม่มีเสียง
IC2101
เช็ค A.out ขา 48 (IC601) มี
เช็คขา 60 (IC601) มี
TC-21PS50B
- เปิดเครื่องได้ปกติ แต่ไม่มีภาพ เสียง
- R1105
 เช็ค SDA /SCL IC1103,
IC601, IC2101, TUNER
TC-21PM70
- เปิดเครื่องนิ่ง ๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
C826
 เช็ค +300 V ปกติ
TC-25FJ20B
ภาพเว้า
Q701, R713
เช็ค  PIN  AMP  Q701
TC-25FJ20B
- ไม่มีเสียง
IC2101
- ทดลองใช้หูแนบฟังว่าเปิดเครื่องขึ้นมาลองเร่งเสียงดูว่าได้
ยินเสียงหรือไม่  หรือให้ทดลอง
เข้า SERVICE  MODE  จะพบ
MSP  -------- (FAIL)
TC-25FJ20B
ไม่มีสี
IC5550

TC-25FJ20B
- รับสัญญาณภาพกระพริบ
R5570

TC-21PS50B
มีภาพมีเสียง เร่ง Contrast ไม่ได้
R557  ขาด
- เช็ค RGB output =1.2V
วัด ไฟขา 47 IC601=2.5V
TC-29PS60B
เปิดเครื่องทำงาน 1-2 วินาที แล้วตัด
R556 ขาด
เช็ค Q581,Q580,Q852,Q850
TC-21FJ50B
เปิดเครื่องไม่ทำงาน มีเสียงผิดปกติ
IC880
เช็คไฟเข้า  ออก  IC880
TC-21PS50B
ภาพเป็นแถบสีดำทาง HOR
- C605 , C606
เช็คไฟที่ขา 10 ,11  IC601
( 4.9 V , 3.3 V)
TC-21FX20B
เปิดเครื่องไม่ทำงาน LED  ติดแดง เขียว  ส้ม  สลับไปมา
IC601
- เช็คเงื่อนไขของ IC601 มีครบ
ทุกอย่าง
สรุปอาการเสียโทรทัศน์สี Panasonic
          GP4 / GP41              โดยครูบ้านสี่ทิศ
รุ่น
อาการเสีย
ตัวเสีย
ข้อควรระวัง
TC-21GX10B
ภาพเป็นสีแดงทั้งจอ
IC351
เช็ค RGB output ผิดปกติ
TC-29FG20B
- เครื่องไม่ทำงาน
IC601
ไฟครบทุกอย่าง
TC-21FX20B
ไม่ทำงาน +300V ค้าง
Q803, D802
- เช็คชุดสตาร์ทเครื่อง
TC-29FX20B
- ภาพมีสีใดสีหนึ่ง สว่างมากแล้วตัด
Q360,Q361,Q362
-  เช็คที่ Y - PCB
TC-29FX50B
เปิดเครื่องเงียบ ไม่ได้ยินเสียงอะไร
C818
- เช็ค +300V มี เช็คไฟสตาร์ท
สวิงขึ้นลง หลังหม้อแปลงไม่มีไฟออก
TC-29FX50B
- เป็นเส้นเดียวกลางจอ
IC601
-  วัดสัญญาณ Vert out ไม่มี
TC-29FG20B
ภาพหดด้านล่าง ด้านบนเป็นสี่เหลี่ยม
  คางหมู
IC601
เช็ค IC451 , IC601
TC-29PS61B
- เครื่องไม่ทำงาน LED กระพริบ
  เขียว  แดง สลับกัน
-  IC601

TC-29FX20B
- เปิดเครื่องติดสแตนบาย
IC601
เช็คขา 65 ไม่มีไฟ 3.3V
TC-29FX50B
ไม่มีเสียง
- Q2101
- +8V  หายไป
TC-29FX50B
- ต้องกด POWER  ON ทุกครั้งที่เปิด
- IC1101 (MEMORY)
เช็ค  SDA / SCL
TC-29FX50B
จอด่าง  DEG  ไม่ทำงาน
D837

TC-29FX50B
เครื่องติด Protec  เป็นบางครั้ง
C877
เช็คขา Protec (47) = 3.3 V
 พบ Q870 ผิดปกติ
TC-29FX50B
- บางครั้งเครื่องไม่ทำงาน
C842
เช็ควงจรสตาร์ท
TC-29FX50B
- เปิดเครื่องไม่ทำงานฟิวส์จะขาดตลอด
- D836

TC-21FX20B
เครื่องไม่ทำงาน
- Q551
- เช็คคำสั่ง ON / OFF ปกติ
TC-29FX20B
เปิดเครื่องหน้าจอเป็นสีรุ้ง
R516
เช็ค IC451  ด้วย
TC-21FX20B
- ภาพมืดด้านข้าง และหดแนวตั้ง
C565

TC-21FX20B
เครื่องไม่ทำงาน
IC605