วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555


จีพีเอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดแสดงดาวเทียม NAVSTAR ของสหรัฐ
เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส KAMAZ NAAV450
เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส แมเกลลัน เบลเซอร์
ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก[1] หรือ จีพีเอส (อังกฤษGlobal Positioning System: GPS) คือระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกซึ่งทราบตำแหน่ง ทำให้ระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลก โดยเครื่องรับสัญญาณจีพีเอส รุ่นใหม่ๆ จะสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรมแผนที่ เพื่อใช้ในการนำทางได้
แนวคิดในการพัฒนาระบบจีพีเอส เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา นำโดย Dr. Richard B. Kershner ได้ติดตามการส่งดาวเทียมสปุตนิกของโซเวียต และพบปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ของคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวเทียม พวกเขาพบว่าหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นผิวโลก ก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมได้จากการตรวจวัดดอปเปลอร์ และหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนของดาวเทียม ก็สามารถระบุตำแหน่งบนพื้นโลกได้ ในทางกลับกัน
กองทัพเรือสหรัฐได้ทดลองระบบนำทางด้วยดาวเทียม ชื่อ TRANSIT เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1960 ประกอบด้วยดาวเทียมจำนวน 5 ดวง ส่วนดาวเทียมที่ใช้ในระบบจีพีเอส (GPS Block-I) ส่งขึ้นทดลองเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1978 เพื่อใช้ในทางการทหาร
เมื่อ ค.ศ. 1983 หลังจากเกิดเหตุการณ์โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 ของเกาหลีใต้ บินพลัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของสหภาพโซเวียต และถูกยิงตก ผู้โดยสาร 269 คนเสียชีวิตทั้งหมดประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนได้ประกาศว่า เมื่อพัฒนาระบบจีพีเอสแล้วเสร็จ จะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปใช้งานได้
ดาวเทียมจีพีเอส เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่ระดับความสูงประมาณ 20,200 กิโลเมตร (12,600 ไมล์ หรือ 10,900 ไมล์ทะเล) จากพื้นโลก ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกเป็นเวลา 12 ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ ที่ความเร็ว 4 กิโลเมตร/วินาที การโคจรแต่ละรอบนั้นสามารถได้เป็น 6 ระนาบๆ ละ 4 ดวง ทำมุม 55 องศา โดยทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียม 24 ดวง หรือมากกว่า เพื่อให้สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก ปัจจุบัน เป็นดาวเทียม GPS Block-II มีดาวเทียมสำรองประมาณ 4-6 ดวง

เนื้อหา

  [ซ่อน

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

cpld


CPLD คือ ไอซีหรือชิพอเนกประสงค์ที่สามารถโปรแกรมให้เป็นวงจรดิจิตอลอะไรก็ไก้โดยวิธีการโปรแกรมง่ายๆ และสามารแก้ไขวงจรได้การโปรแกรมซ้ำ ชิพ CPLD จะเหมาะกับการออกแบบวงจรขนาดล็กถึงขนาดกลาง วงจรที่โปรแกรมไว้ใน CPLD จะคงอยู่แม้ไม่มีไฟเลี้ยงก็ตาม
 
คุณสมบัติทั่วไป
                        1.        CPLD เบอร์ XC9572 (1600เกต ) แบบ PLCC 44 ขา Speed Grade -10
                        2.        sevensegment จำนวน 4 หลัก
                        3.        LED แสดงผลสถานะจำนวน 4
                        4.        Logic Monitor ที่เป็น LED แสดงผล 3 สถานะจำนวน 4 ดวง
                        5.        ออด ( Buzzer ) จำนวน 1 ตัว
                        6.        Slide Buzzer จำนวน 4 บิต (ใช้ร่วมกับ Pluse botton switch )
                        7.        Pluse botton switch 6 ตัว
                        8.        พอร์ต K1 เป็น I/O บิตที่ใช้ I/O ได้กับ 3 V และ 5 V
                        9.         on bord oscillator 32.768 kHz
 
การทำงานของ LED บนบอร์ด CPLD

              บอร์ดนี้จะมี LED แบบ 2 สถานะ 4 ดวง คือ LD1-LD4 โดยต่อขาคาโทด ( cathode ) ลง ground และต่อขาแอโนด ( anode) เข้ากับขา I/O ของ CPLD โดยมีตัวต้านทาน RNET 470 โอห์มต่ออนุกรมอยู่เพื่อกำจัดกระแส  ดังนั้นถ้า CPLD ส่งโลจิก ‘1’ จะให้ LED นั้นติดสว่าง 

             
                            Logic monitor ที่เป็น LED แสดงผล 3 สถานะ 4 ดวง คือ MN1-MN4  โดยต่อ logic monitor โดยใช้ Jumper เข้ากับขาของ CPLD ที่ K1 ( I/O6 - I/O9)  มีรายละเอียดดังรูป ถ้า I/O ของ CPLD เป็นโลจิก ‘ 1’ ทำให้ LED ติดเป็นสีเขียว  ถ้าโลจิก ‘ 0 ’ ทำให้ LED ติดเป็นสีแดง   ถ้าเป็น high impledance  LED จะดับ

cpld


CPLD คือ ไอซีหรือชิพอเนกประสงค์ที่สามารถโปรแกรมให้เป็นวงจรดิจิตอลอะไรก็ไก้โดยวิธีการโปรแกรมง่ายๆ และสามารแก้ไขวงจรได้การโปรแกรมซ้ำ ชิพ CPLD จะเหมาะกับการออกแบบวงจรขนาดล็กถึงขนาดกลาง วงจรที่โปรแกรมไว้ใน CPLD จะคงอยู่แม้ไม่มีไฟเลี้ยงก็ตาม
 
คุณสมบัติทั่วไป
                        1.        CPLD เบอร์ XC9572 (1600เกต ) แบบ PLCC 44 ขา Speed Grade -10
                        2.        sevensegment จำนวน 4 หลัก
                        3.        LED แสดงผลสถานะจำนวน 4
                        4.        Logic Monitor ที่เป็น LED แสดงผล 3 สถานะจำนวน 4 ดวง
                        5.        ออด ( Buzzer ) จำนวน 1 ตัว
                        6.        Slide Buzzer จำนวน 4 บิต (ใช้ร่วมกับ Pluse botton switch )
                        7.        Pluse botton switch 6 ตัว
                        8.        พอร์ต K1 เป็น I/O บิตที่ใช้ I/O ได้กับ 3 V และ 5 V
                        9.         on bord oscillator 32.768 kHz
 
การทำงานของ LED บนบอร์ด CPLD

              บอร์ดนี้จะมี LED แบบ 2 สถานะ 4 ดวง คือ LD1-LD4 โดยต่อขาคาโทด ( cathode ) ลง ground และต่อขาแอโนด ( anode) เข้ากับขา I/O ของ CPLD โดยมีตัวต้านทาน RNET 470 โอห์มต่ออนุกรมอยู่เพื่อกำจัดกระแส  ดังนั้นถ้า CPLD ส่งโลจิก ‘1’ จะให้ LED นั้นติดสว่าง 

             
                            Logic monitor ที่เป็น LED แสดงผล 3 สถานะ 4 ดวง คือ MN1-MN4  โดยต่อ logic monitor โดยใช้ Jumper เข้ากับขาของ CPLD ที่ K1 ( I/O6 - I/O9)  มีรายละเอียดดังรูป ถ้า I/O ของ CPLD เป็นโลจิก ‘ 1’ ทำให้ LED ติดเป็นสีเขียว  ถ้าโลจิก ‘ 0 ’ ทำให้ LED ติดเป็นสีแดง   ถ้าเป็น high impledance  LED จะดับ

vhdl


ภาษา VHDL (1)
ความซับซ้อนและขนาดของระบบดิจิตอลในปัจจุบันได้เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลให้มีการนำคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยใน การออกแบบหรือ CAD มาใช้ในขบวนการออกแบบฮาร์ดแวร์เพิ่มขึ้นเช่นกัน อีกทั้งอุปกรณ์และวิธีการ ออกแบบใหม่ๆ ก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักออกแบบมากขึ้นด้วย สำหรับภาษาบรรยายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (HDL : Hardware Description Language) ก็เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การปรับปรุงขบวนการออกแบบระบบดิจิตอลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบระบบดิจิตอล
ในการออกแบบระบบดิจิตอล เริ่มตั้งแต่การกำหนดแนวความคิดเบื้องต้นจนกระทั่งได้ออกมาเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ที่ใช้งานได้จะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย และในแต่ละขั้นตอนผู้ออกแบบจะต้องตรวจสอบผลลัพธ์ในแต่ละขั้น ก่อนเข้าสู่กระบวนการออกแบบในขั้นต่อไป รูปที่ 5.1 แสดงขั้นตอนปกติที่ใช้ในการออกแบบระบบดิจิตอลทั่วไป ขั้น แรกผู้ออกแบบจะกำหนดแนวความคิดในการออกแบบแล้วทำการพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างสมบรูณ์ ซึ่งภาย ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจำเป็นต้องสร้างรูปแบบระบบในเชิงพฤติกรรมขึ้นมาตรวจสอบซึ่งอาจจะเป็นผังงานแสดงแบบหรือ รหัสคำสั่งเทียม (Pseudo code) ก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

rfid


อาร์เอฟไอดี (RFID ย่อมาจากคำเต็มว่า Radio-frequency identification) เป็นวิธีการในการเก็บข้อมูลหรือระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ โดยทำงานผ่านการรับสัญญาณจากแท็กเข้าสู่ตัวส่งสัญญาณ ผ่านทางคลื่นวิทยุ แท็กของอาร์เอฟไอดีโดยปกติจะมีขนาดเล็กซึ่งสามารถติดตั้งเข้ากับผลิตภัณฑ์สินค้า สัตว์ บุคคลได้ ซึ่งเมื่อตัวส่งสัญญาณส่งคลื่นวิทยุไป และพบเจอแท็กนี้ สัญญาณจะถูกส่งกลับพร้อมกับข้อมูลที่เก็บไว้ในแท็ก โดยตัวส่งสัญญาณนี้เองยังสามารถบันทึกข้อมูลลงในแท็กได้
แท็กอาร์เอฟไอดีจะประกอบไปด้วยสองส่วนหลักคือ ส่วนวงจรไฟฟ้าที่เก็บข้อมูลและคำนวณการของข้อมูล และอีกส่วนคือส่วนเสาอากาศหรือตัวรับส่งสัญญาณ
RFID tag มีการทำงานบางส่วนที่สามารถทำงานได้ในขณะที่ไม่มีแบตเตอรี่ และมีแบตเตอรี่ นั้นคือการอ่านและเขียนบน EEPROM ผ่านทาง Low frequency radio
ระบบ RFID คืออะไร?PDFPrintE-mail

RAID ย่อมาจากคำว่า Radio Frequency Identification เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.. 1980 โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Therein ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.. 1945 ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
RAID ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆเช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของใดๆ สามารถติดตามข้อมูลของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไร ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้น ๆ ในปัจจุปันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน  ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียนข้อมูล    RFID มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าระบบบาร์โค้ดดังนี้
                 w
  1. มีความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่า ซึ่งทำให้สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละ   ชิ้นแม้จะเป็น SKU (Stock Keeping Unit – ชนิดสินค้า) เดียวกันก็ตาม
  2. ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแถบ RFID เร็วกว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายสิบเท่า
  3. สามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกันหลาย ๆ แถบ RFID
  4. สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสมอย่างการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Non-Line of Sight)
  5. ค่าเฉลี่ยของความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี RFID นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 99.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยระบบบาร์โค้ดอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์
  6. สามารถเขียนทับข้อมูลได้ จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งจะลดต้นทุนของการผลิตป้ายสินค้า ซึ่งคิดเป็นประมาณ 5% ของรายรับของบริษัท
  7. สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอ่านข้อมูลซ้ำที่อาจเกิดขึ้นจากระบบบาร์โค้ด
  8. ความเสียหายของป้ายชื่อ (Tag) น้อยกว่าเนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์
  9. ระบบความปลอดภัยสูงกว่า ยากต่อการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ
  10. ทนทานต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก

    โครงสร้างการทำงานของระบบ RFID แบบ Inductive Coupling
    ระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RFID (Radio Frequency Identification)
    คือระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ (Automatic Identification) แบบไร้สาย (Wireless) ระบบนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์สองส่วน คือ ส่วนเครื่องอ่าน (Reader) และส่วนป้ายชื่อ (Tag) โดยการทำงานนั้นเครื่องอ่านจะทำหน้าที่จ่ายกำลังงานในรูปคลื่นความถี่วิทยุให้กับตัวบัตร ยังผลให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในสามารถส่งข้อมูลจำเพาะที่แสดงถึง "Identity" กลับมาประมวลผลที่ตัวอ่านได้
    ความเป็นมาและเหตุผล
    ในปัจจุบัน การใช้บัตรอัจฉริยะ (SmartCard) และระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID) เป็นที่ยอมรับอย่างสูงว่า เป็นเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานที่ต้องการการบ่งบอกความแตกต่างหรือข้อมูลจำเพาะของแต่ละบุคคล ที่สามารถทำงานได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว และมีความเป็นอัตโนมัติกว่าระบบตรวจสอบรหัสในระบบอื่นๆ เช่น รหัสแบบแท่ง (Barcode) การใช้งานที่ง่ายและยังเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเสริมในเชิงพาณิชย์ด้านต่างๆ อีกทั้งยังสอดคล้องกับเทคโนโลยีทางการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ยังผลให้การขยายตัวของการใช้งาน RFID/SmartCard สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด


    วัตถุประสงค์ของโครงการ

    โครงการ RFID เป็นโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์วงจรรวมชิปเดี่ยวเพื่อใช้ในบัตรอัจฉริยะ (SmartCard Chip) ชนิดไร้สัมผัส (Contactless) เพื่อสร้างต้นแบบให้กับผู้ประกอบการ RFID/SmartCard ในประเทศไทย นำไปพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ เป็นการยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนา ออกแบบ และผลิตอุปกรณ์ด้านวงจรรวม และสนับสนุนให้เกิดผลผลิตทางการออกแบบวงจรรวมของสถาบันวิจัยในประเทศ ซึ่งเป็นฐานสำหรับการพัฒนาบุคลากรทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง ทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างมากให้กับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    คุณสมบัติของต้นแบบชิป RFID
    • เป็นระบบชี้เฉพาะด้วยความถี่วิทยุบนชิปเดี่ยว
    • เป็นระบบไร้สัมผัส (Contactless)
    • ใช้งานในย่านความถี่ 13.56 MHz
    • มีหน่วยความจำพรอมอนุกรมแบบโปรแกรมได้ครั้งเดียวขนาด 64 บิต
    • ใช้การเข้ารหัสข้อมูลแบบอินเวอร์สแมนเชสเตอร์ขนาด 70 กิโลบิตต่อวินาที
    • มีระบบป้องกันการชนกันของข้อมูล (Anti-Collision Feature)
    • ขนาดได (Die) 2,270 x 2,620 ตารางไมครอน
    • กินกำลังไฟ140 ไมโครวัตต์ ที่ 3.3 โวลต์
    • ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีซีมอส 0.8 ไมครอน
    การประยุกต์ใช้งาน
    • ระบบการบอกรหัสสัตว์เลี้ยง (Animal identification)
    • ระบบทะเบียนประวัติ บัตรประชาชน (e-Citizen)
    • ระบบข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล (Health Care)
    • ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (e-Ticket)
    • ระบบบัญชีรายการอัตโนมัติ (Automated Inventory)
    • ระบบบอกรหัสพนักงาน (Automatic Teller)
    • ระบบอนุญาตเข้าออกสำนักงาน (Security Access)
    • ใช้แพลตฟอร์มออกแบบ Cadence ED

ดอกไม้

ดอกไม้